สุตันตปิฎกไทย

ฉกฺก. อํ. 22/480/349. เล่ม 22, หน้า 383, ข้อ 349

- หน้า 383 -

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง อรหัต ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความถือตัว ๑ ความสำคัญว่าเลวกว่าเขา ๑ ความ เย่อหยิ่ง ๑ ความเข้าใจผิด ๑ ความหัวดื้อ ๑ ความดูหมิ่นตัวเองว่าเป็นคนเลว ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ฯ จบสูตรที่ ๒ ๓. อุตตริมนุสสธรรมสูตร
[๓๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งญาณทัสนะชั้นวิเศษ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีสติเลอะเลือน ๑ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ความ โกหก ๑ การพูดเลียบเคียง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสนะชั้นวิเศษ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ยิ่งกว่า ธรรมของมนุษย์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งญาณ ทัสนะชั้นวิเศษ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ธรรม ๖ ประการ เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีสติเลอะเลือน ๑ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ๑ ความเป็นผู้ไม่ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ความโกหก ๑ การ พูดเลียบเคียง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้ แจ้งซึ่งญาณทัสนะชั้นวิเศษ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ฯ จบสูตรที่ ๓ ๔. สุขสูตร

[๓๔๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้มากด้วย สุขและโสมนัสอยู่ในปัจจุบันเทียว และย่อมเป็นผู้ปรารภเหตุเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
สุตันตปิฎกไทย: - ฉกฺก. อํ. 22/480/349.