- หน้า 157 -
บรรดาสัญชาติเหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คน จัณฑาลและคนเทขยะมูลฝอย ในเขตที่ปราศจากธุลีนั้นแล ทักษิณาย่อม มีผลมาก ส่วนคนพาล ไม่รู้แจ้ง ทรามปัญญา มิได้สดับตรับฟัง ย่อม พากันให้ทานในภายนอก ไม่เข้าไปหา สัตบุรุษ ก็ศรัทธาของผู้ที่เข้าไปหา สัตบุรุษ ผู้มีปัญญายกย่องกันว่าเป็นปราชญ์ หยั่งรากลงตั้งมั่นใน พระสุคต และเขาเหล่านั้นย่อมพากันไปเทวโลก หรือมิฉะนั้นก็เกิดใน สกุลในโลกนี้ บัณฑิตย่อมบรรลุนิพพานได้โดยลำดับ ฯ ติกรรณสูตร- หน้า 158 -
พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้ากระนั้นจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ติกรรณ พราหมณ์ ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ วิตกวิจารสงบไปมีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบ ชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้างห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติ บ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอัน มากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวย สุขเสวยทุกข์อย่างนี้ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วไปเกิดในภพโน้น แม้ใน ภพนั้น เราก็ได้ชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวย ทุกข์อย่างนี้ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึก ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ วิชชาข้อแรกเป็น อันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้ อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ภิกษุนั้น เมื่อจิต เป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่ หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลัง จุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจ มิจฉาทิฐิ เมื่อแตกกายตายไป ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบ- หน้า 159 -
ด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการทำด้วย อำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อแตกกายตายไปได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลัง จุติ กำลังอุปบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ วิชชาข้อ ที่สอง ย่อมเป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้ อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดสูญไป แสง สว่างเกิดขึ้น เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะเมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จาก กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุด พ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี วิชชาข้อที่สาม ย่อมเป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้ อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตน ไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ฯ จิตของพระโคดมองค์ใดซึ่งมีศีลไม่ลุ่มๆ ดอนๆ มีปัญญาและมีความ เพ่งพินิจ เป็นจิตมีความชำนาญ เป็นเอกัคคตา เป็นสมาธิดีแล้ว พระโคดมพระองค์นั้นแลบัณฑิตกล่าวว่า บรรเทาความมืดได้ เป็นนัก ปราชญ์ ได้วิชชา ๓ ละทิ้งมัจจุ เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ ละบาป ธรรมเสียได้ทุกอย่างสาวกทั้งหลายย่อมนมัสการพระโคดมพระองค์นั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชา ๓ ไม่หลงใหลอยู่ ผู้ตื่นแล้ว มีสรีระเป็นครั้งสุดท้าย ผู้ใดตรัสรู้ปุพเพนิวาสญาณ เห็นทั้งสวรรค์ทั้งอบาย บรรลุถึงธรรมเป็น ที่สิ้นชาติ เป็นมุนีผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เพราะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็น พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ โดยวิชชา ๓ นี้เรากล่าวผู้นั้นว่าได้วิชชา ๓ เราย่อมไม่กล่าวถึงคนอื่นตามถ้อยคำที่คนอื่นกล่าวว่าได้วิชชา ๓ ฯ ดูกรพราหมณ์ ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอย่างนี้แล ฯ