สุตันตปิฎกไทย

ทสก. อํ. 24/31-34/20. เล่ม 24, หน้า 28 - 31, ข้อ 20

- หน้า 28 -

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะ ก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาอันเห็น ความเกิดความดับ เป็นอริยะชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้ พึงว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำ ที่พึ่ง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะ ว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการ นี้แล ฯ จบสูตรที่ ๘ อริยวสสูตรที่ ๑
[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ ก็ดี จักอยู่ก็ดี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ๑ ประกอบด้วยองค์ ๖ ๑ รักษาแต่อย่างเดียว ๑ มีธรรมเป็นที่พักพิง ๔ ประการ ๑ มี ปัจเจกสัจจะบรรเทาได้แล้ว ๑ มีการแสวงหาอันสละเสียแล้วด้วยดี ๑ มีความดำริไม่ขุ่นมัว ๑ มีกายสังขารอันสงบระงับแล้ว ๑ มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ๑ มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ก็ดีจักอยู่ก็ดี ๑๐ ประการนี้แล ฯ จบสูตรที่ ๙ อริยวสสูตรที่ ๒

[๒๐]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของชาวกุรุ ชื่อกัมมาสธรรม ใน แคว้นกุรุ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

- หน้า 29 -

เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม เป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดีกำลังอยู่ก็ดี จักอยู่ก็ดี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ๑ ประกอบด้วยองค์ ๖ ๑ รักษาแต่ อย่างเดียว ๑มีธรรมเป็นที่พักพิง ๔ ประการ ๑ มีปัจเจกสัจจะบรรเทาได้แล้ว ๑ มีการแสวงหา อันสละแล้วด้วยดี ๑ มีความดำริไม่ขุ่นมัว ๑ มีกายสังขารอันสงบระงับแล้ว ๑มีจิตหลุดพ้น แล้วด้วยดี ๑ มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ละกามฉันทะได้แล้ว ๑ เป็นผู้ละพยาบาทได้แล้ว ๑ เป็นผู้ละถีนมิทธะได้แล้ว ๑ เป็นผู้ละ อุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ๑ เป็นผู้ละวิจิกิจฉาได้แล้ว๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วยองค์ ๖อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รักษาแต่อย่างเดียวอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้ประกอบด้วยใจอันรักษาด้วยสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รักษาแต่อย่างเดียว อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พักพิง ๔ ประการอย่างไรภิกษุในธรรมวินัย นี้ พิจารณาแล้วย่อมเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วย่อมอดกลั้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วย่อม เว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วย่อมบรรเทาของอย่างหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีธรรม เป็นที่พักพิง ๔ ประการอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะบรรเทาแล้วอย่างไร ปัจเจกสัจจะเป็นอัน มากเหล่าใดเหล่าหนึ่งของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก คือ สัจจะว่าโลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพก็อันนั้นสรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระเป็นอื่น บ้าง สัตว์เมื่อตายไปย่อมเป็นอีกบ้างสัตว์เมื่อตายไปย่อมไม่เป็นอีกบ้าง สัตว์เมื่อตายไปย่อม เป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์เมื่อตายไปย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้

- หน้า 30 -

บ้าง สัจจะเหล่านั้นทั้งหมดเป็นของอันภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรเทาได้แล้ว กำจัดออกแล้วสละ ได้แล้ว คลายได้แล้ว พ้นได้แล้ว ละได้แล้ว สลัดได้เฉพาะแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้แล้วอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้แล้วด้วยดีอย่างไรภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละการแสวงหากามได้แล้ว เป็นผู้ละการแสวงหาภพได้แล้วเป็นผู้สงบระงับ การแสวงหาพรหมจรรย์ได้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้แล้วด้วย ดีอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัวอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้ละความดำริในกามได้แล้ว เป็นผู้ละความดำริในพยาบาทได้แล้วเป็นผู้ละความดำริในวิหิงสา ได้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัวอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับแล้วอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอัน สงบระงับแล้ว อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วด้วยดีอย่างไร จิตของภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้วจากราคะ หลุดพ้นแล้วจากโทสะ หลุดพ้นแล้วจากโมหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นแล้วด้วยดีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัย นี้ ย่อมรู้ชัดว่า ราคะเราละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัดว่า โทสะเราละได้แล้ว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า โมหะเราละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิด อีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดีอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลอยู่อาศัยแล้วซึ่งธรรมเป็น ที่อยู่ของพระอริยเจ้า ๑๐ ประการเหล่านี้เทียว พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จัก อยู่อาศัยซึ่งธรรมเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า ๑๐ประการเหล่านี้เทียว พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบันนี้ อยู่อาศัยซึ่งธรรมเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า พระอริยเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมอยู่

- หน้า 31 -

อาศัยซึ่งธรรมเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า ๑๐ ประการเหล่านี้เทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ อยู่ของพระอริยเจ้า ที่พระอริยเจ้าอยู่อาศัยแล้วก็ดี กำลังอยู่อาศัยก็ดี จักอยู่อาศัยก็ดี๑๐ ประการ นี้แล ฯ จบสูตรที่ ๑๐ จบนาถกรณวรรคที่ ๒ _________________ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. เสนาสนสูตร ๒. อังคสูตร ๓. สังโยชนสูตร ๔. ขีลสูตร ๕. อัปปมาทสูตร ๖. อาหุเนยยสูตร ๗. นาถสูตรที่ ๑ ๘. นาถสูตรที่ ๒ ๙. อริยวสสูตรที่ ๑ ๑๐. อริยวสสูตรที่ ๒ ฯ
สุตันตปิฎกไทย: - ทสก. อํ. 24/31-34/20.