พระสุตตันตปิฎกไทย: 22/102/90

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
เล่ม 22
หน้า 102
ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถาละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบ ณ ภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรม๕ ประการนี้แล เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีกิจมาก ไม่มีกรณียมาก ฉลาดในกิจน้อยกิจ ใหญ่ ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายในดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรม ข้อที่ ๑ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมไม่ปล่อยให้วันเวลาล่วงไป เพราะการงานเล็กน้อย ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมไม่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการ คลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมไม่เข้าไปบ้านในเวลาเช้านัก ไม่กลับในเวลา สายนัก ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น ธรรมข้อที่ ๔ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยากโดยไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายแก่ธรรมเครื่องโปร่งจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ดูกรภิกษุ ทั้งหลายธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ จบสูตรที่ ๑๐ จบเถรวรรคที่ ๔ __________________