พระสุตตันตปิฎกไทย: 14/109/189 190
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
บิณฑบาตเป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ
ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็น
ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรม
อันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายใน
เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ
[๑๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ย่อม
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้อยู่โคนไม้
เป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะ ความเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ
ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความ
หลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็น
ผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอัน
สมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายใน
เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ
สัปปุริส ธรรม ฯ
[๑๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ย่อม
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่ใช่เป็นผู้อยู่ป่าช้า
เป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ
ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตรถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้อยู่ป่าช้า