พระสุตตันตปิฎกไทย: 14/118/206 207 208

สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
เล่ม 14
หน้า 118
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ ประพฤติทางวาจา โดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความ ประพฤติทางวาจาด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ ตรัสแล้ว ฯ
[๒๐๖] ก็ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติ ทางใจโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควร เสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่าง เป็นความประพฤติทางใจด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความประพฤติทางใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นใด อกุศลธรรม ย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความประพฤติทางใจเช่นนี้ควร เสพ ฯ
[๒๐๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางใจมีรูปอย่างไร อกุศลธรรม จึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วย อภิชฌา คือ มักเป็นผู้เพ่งเล็งอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ ของผู้อื่นว่า โอหนอ ขอสิ่งของของผู้อื่นนั้น พึงเป็นของเรา อนึ่ง เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีความดำริในใจอันชั่วช้าว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า หรือจงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงฉิบหาย อย่าได้เป็นเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพ ความ ประพฤติทางใจมีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ฯ
[๒๐๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางใจมีรูปอย่างไร อกุศลธรรม จึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มาก ด้วยอภิชฌา คือ ไม่เป็นผู้เพ่งเล็งอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า โอหนอ ขอสิ่งของของผู้อื่นนั้น พึงเป็นของเรา อนึ่ง เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ มีความดำริในใจไม่ชั่วช้าว่า ขอสัตว์เหล่านี้จง อย่าถูกเบียดเบียนไม่มีทุกข์ มีแต่สุข บริหารตนไปเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความ ประพฤติทางใจมีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ฯ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ ประพฤติทางใจโดย ส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความ ประพฤติทางใจด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ ตรัสแล้ว ฯ