พระสุตตันตปิฎกไทย: 11/153/213 214

สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
เล่ม 11
หน้า 153
นกกะเรียน นกดุเหว่า อันมีเสียงหวานประสานเสียง มีนกร้องว่า ชีวะชีวะ และบางเหล่ามีเสียงปลุกใจ มีไก่ป่า มีปู และนกโปกขรสาตกะ อยู่ในสระประทุม ในที่นั้นมีเสียงนกสุกะและนกสาลิกา และหมู่นก ทัณฑมานวกะ
[มีหน้าเหมือนมนุษย์]สระนฬินีของท้าวกุเวรนั้น งดงามอยู่ตลอดเวลาทุกเมื่อ ฯ
[๒๑๓] แต่ทิศนี้ไป ทิศที่ชนเรียกกันว่าอุตตรทิศ ที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศเป็นเจ้า เป็นใหญ่ของยักษ์ทั้งหลาย ทรงนามว่าท้าวกุเวร อันยักษ์ทั้งหลายแวด ล้อมแล้ว ทรงโปรดปรานด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า โอรสของท้าวเธอมีมากองค์มีพระนามเดียวกัน ทั้งเก้าสิบเอ็ดพระองค์ มีพระนามว่าอินทะทรงพระกำลังมาก ทั้งท้าว กุเวรและโอรสเหล่านั้นได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจาก ความครั่นคร้ามแต่ที่ไกลว่า พระบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบ น้อมแด่พระองค์ พระอุดมบุรุษ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วยพระญาณอันฉลาด แม้พวกอมนุษย์ ก็ถวายบังคมพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สดับมาอย่างนั้น เนืองๆ ฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคมพระชินโคดมหรือเขาพากันตอบว่าถวายบังคม พระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ถึง พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ฯ
[๒๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การรักษาอันชื่อว่าอาฏานาฏิยะนี้นั้นแล ย่อมเป็นไป เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก และอุบาสิกา ฉะนี้แล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใดผู้หนึ่ง จักเรียนการรักษา อันชื่อว่าอาฏานาฏิยะนี้ให้แม่นยำ ให้บริบูรณ์แล้ว ถ้าอมนุษย์เป็นยักษ์ก็ตาม ยักษิณีก็ตาม