พระสุตตันตปิฎกไทย: 22/163/157

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
เล่ม 22
หน้า 163
ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังย่อมถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ประชุมชนเหล่านั้นไม่มักมาก ไม่ประพฤติ ย่อมทอดธุระในการล่วงละเมิด เป็นหัวหน้าในทางวิเวก ปรารถความเพียรเพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรม ข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง สงฆ์ ย่อมเป็นผู้สมัครสมานกันดี ชื่นชมต่อกันไม่วิวาทกัน มีอุเทศเป็นอย่างเดียวกัน อยู่สบาย ก็เมื่อสงฆ์สมัครสมานกันดีไม่มีการด่ากันและกัน ไม่บริภาษกันและกัน ไม่มีการแข่งขันกัน และกัน ไม่ทอดทิ้งกันและกัน ในเหตุการณ์เช่นนั้น คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส และคน บางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ จบสูตรที่ ๖ ๗. ทุกถาสูตร
[๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกย่อมเป็นถ้อยคำชั่ว เมื่อ เทียบบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ ถ้อยคำปรารภศรัทธาเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ถ้อยคำปรารภศีลเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล ๑ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะเป็นถ้อยคำ ชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย ๑ ถ้อยคำปรารภจาคะเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่ ๑ ถ้อยคำปรารภปัญญา เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา เพราะผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ย่อมขัดข้อง โกรธพยาบาท กระด้าง แสดงความ โกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ไม่มีศรัทธานั้น ย่อมไม่เห็น ศรัทธาสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำ ปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภ ศีลจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล เพราะผู้ทุศีล เมื่อพูดเรื่องศีลย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท