พระสุตตันตปิฎกไทย: 22/164/157
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ทุศีลนั้นย่อม
ไม่เห็นศีลสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติและปราโมทย์ที่มีศีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น
ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำ
ชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อยเพราะผู้ได้สดับน้อย เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ย่อมขัดข้อง โกรธ
พยาบาทกระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ผู้ได้สดับน้อยนั้น ย่อมไม่เห็นสุตสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทา
เป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย เพราะเหตุไร
ถ้อยคำปรารภจาคะจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่เพราะผู้ตระหนี่ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ย่อม
ขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะผู้ตระหนี่นั้นย่อมไม่เห็นจาคสัมปทาในตนและย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มี
จาคสัมปทานั้นเป็นเหตุฉะนั้น ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำชั่วของผู้ตระหนี่ เพราะเหตุไร
ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา เพราะผู้ทรามปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา
ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะผู้ทรามปัญญานั้นย่อมไม่เห็นปัญญาสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์
ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้นถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกนี้แล ย่อมเป็นถ้อยคำชั่ว เมื่อเทียบบุคคลกับ
บุคคล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวก ย่อมเป็นถ้อยคำดี เมื่อเทียบบุคคล
กับบุคคล บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน คือถ้อยคำปรารภศรัทธาเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา ๑
ถ้อยคำปรารภศีลเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล ๑ ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก ๑
ถ้อยคำปรารภจาคะเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ ๑ ถ้อยคำปรารภปัญญาเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา ๑ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา
เพราะผู้มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธาย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่
แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีศรัทธานั้นย่อม
เห็นศรัทธาสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำ
ปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มี