พระสุตตันตปิฎกไทย: 22/171/163 164
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
ทางวาจาบริสุทธิ์ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร แม้ความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แม้ความประพฤติทาง
วาจาบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้นแม้การได้ทางสงบใจ ได้ความ
เลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัย ฉันนั้น
ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เพราะอาศัยบุคคลผู้เป็นที่น่า
เลื่อมใสโดยประการทั้งปวง จิตย่อมเลื่อมใส ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต
ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. สากัจฉาสูตร
[๑๖๓] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่าดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้
ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อสนทนากับเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่
มาด้วยศีลสัมปทากถาได้๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วย
สมาธิสัมปทากถาได้ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาโดยตนเองและเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยปัญญา
สัมปทากถาได้ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยวิมุตติสัมปทา
กถาได้ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะโดยตนเองและเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยวิมุตติ
ญาณทัสสนะสัมปทากถาได้ ๑ ดูกรอาวุโสทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
เป็นผู้ควรเพื่อสนทนากับเพื่อนพรหมจรรย์ ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. สาชีวสูตร
[๑๖๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่าดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้