พระสุตตันตปิฎกไทย: 22/177/167
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
ที่ประกอบด้วยโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน
ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรเดือดร้อน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ นี้ ฯ
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทโดยเป็น
ธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านโจทโดยกาลควร ไม่โจทโดยกาลไม่ควรท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน
ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยคำอ่อน
หวาน ไม่โจทด้วยคำหยาบ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเมตตาจิต
ไม่โจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อนภิกษุ
พึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะว่าภิกษุแม้
รูปอื่นพึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องจริง ฯ
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อันบุคคลผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริง
และความไม่โกรธ ฯ
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (ถ้า) ผู้อื่นพึงโจท (เรา) ด้วยธรรม ๕ ประการคือ พึงโจท
โดยกาลควรหรือโดยกาลไม่ควร ๑ ด้วยเรื่องจริงหรือด้วยเรื่องไม่จริง ๑ด้วยคำอ่อนหวานหรือ
ด้วยคำหยาบ ๑ ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๑ ด้วยเมตตาจิตหรือด้วยเพ่งโทษ ๑ แม้เราก็พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริงและ
ความไม่โกรธ ถ้าเราพึงทราบว่าธรรมนั้นมีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่า มีอยู่ ว่าธรรม
นั้นมีอยู่พร้อมในเรา ถ้าเราพึงทราบว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่าไม่มี
อยู่ ว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่พร้อมในเรา ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เรื่องก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แต่ว่าโมฆบุรุษ
บางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับโดยเคารพ ฯ
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มิใช่
ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่งเหลาะแหละ ปากกล้า
พูดพล่าม ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร
ไม่เพ่งถึงความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการ