พระสุตตันตปิฎกไทย: 20/204/511

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
เล่ม 20
หน้า 204
อานันทวรรคที่ ๓ ฉันนสูตร
[๕๑๑] ๗๒. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแลฉันนปริพาชกได้ไปหาท่านพระอานนท์ ยังที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรท่านพระอานนท์ ท่านทั้งหลาย บัญญัติการละราคะ บัญญัติการละโทสะ บัญญัติการละโมหะหรือ ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราบัญญัติการละราคะ บัญญัติการละโทสะ บัญญัติการละโมหะ ฯ ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ท่านทั้งหลายเห็นโทษในราคะอย่างไร จึงบัญญัติการละราคะ เห็นโทษในโทสะอย่างไร จึงบัญญัติการละโทสะ เห็นโทษในโมหะอย่างไร จึงบัญญัติการละ โมหะ ฯ อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้กำหนัด ถูกความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้ ย่อมคิด เพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้างคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและ ผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง เพื่อละราคะได้แล้ว ย่อมไม่คิดเพื่อ จะเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้ง สองฝ่าย ไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต บุคคลผู้กำหนัด ถูกความกำหนัดครอบงำรัดรึง จิตไว้ ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ เพื่อละ ราคะได้แล้ว ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย ไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ไม่ประพฤติทุจริตด้วย ใจ บุคคลผู้กำหนัด อันความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้ ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตาม ความเป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและ ผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง เมื่อละราคะได้แล้ว ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็น จริง ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นตาม ความเป็นจริง ความกำหนัดแล ทำให้เป็นคนมืด ทำให้เป็นคนไร้จักษุ ทำให้ไม่รู้อะไร