พระสุตตันตปิฎกไทย: 14/209/395
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
แล้วจึงฝังเสาตะลุงใหญ่ในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปรกติของสัตว์ป่า แก้
ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อน
ใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิง ในปรกติที่มนุษย์ต้อง
การ ควาญช้างย่อมร้องเรียกช้างป่าเชือกนั้นด้วยวาจาซึ่งไม่มี โทษ เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับ
ใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมาก ปรารถนาและชอบใจเห็นปานนั้น ในเมื่อช้างป่าอัน
ควาญช้างร้องเรียกอยู่ด้วยวาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง
อันคนส่วนมาก ปรารถนาและชอบใจเห็นปานนั้นแล้ว จึงสำเหนียกด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิต
รับรู้ ควาญช้างจึงเพิ่มอาหาร คือ หญ้าและน้ำให้ช้างนั้นยิ่งขึ้น ในเมื่อช้างป่ารับอาหาร คือ
หญ้าและน้ำของควาญช้าง ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า คราวนี้ช้างป่าจักเป็นอยู่ได้ละ
จึงให้ช้างนั้นทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคำว่า รับพ่อ ทิ้งพ่อ ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ
รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการรับและการทิ้ง ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วย
คำว่า รุกพ่อ ถอยพ่อ ใน เมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญ
ช้างในการรุกและการถอย ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการยิ่งขึ้นด้วยคำว่า ยืนพ่อ เทาพ่อใน
เมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการยืนและการเทา
ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการณ์ชื่ออาเนญชะยิ่งขึ้น คือ ผูกโล่ห์ใหญ่เข้าที่งวงช้างนั้น จัดบุรุษถือ
หอกซัด นั่งบนคอ จัดบุรุษถือหอกซัดหลายคนยืนล้อมรอบ และควาญช้างถือของ้าวยาว ยืน
ข้างหน้า ช้างนั้นถูกควาญช้างให้ ทำการณ์ชื่ออาเนญชะอยู่ จึงไม่เคลื่อนไหวเท้าหน้า ไม่เคลื่อน
ไหวเท้าหลัง ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหน้า ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหลัง ไม่เคลื่อนไหว
ศีรษะ ไม่เคลื่อนไหวหู ไม่เคลื่อนไหวงา ไม่เคลื่อนไหวหาง ไม่เคลื่อนไหวงวง จึงเป็นช้าง
หลวงทนต่อการประหารด้วย หอก ดาบ ลูกศร และเครื่องประหารของศัตรูอื่น ทนต่อเสียง
กึกก้องแห่งกลองใหญ่ บัณเฑาะว์ สังข์ และกลองเล็ก กำจัดโทษคดโกงทุกอย่างได้ หมด
พยศ ย่อมถึงความนับว่า เป็นช้างสมควรแก่พระราชาอันพระราชาควรใช้สอย เป็นองค์
สมบัติของพระราชา ฉันใด ฯ