พระสุตตันตปิฎกไทย: 30/218/570 571 572

สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
เล่ม 30
หน้า 218
มรรค ท่านกล่าวว่า อายนะ เป็นที่ให้ถึง. คำว่า อิติ เป็นบทสนธิ. ฯลฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า เพราะเหตุนั้น มรรค ท่านจึงกล่าวว่า เป็นที่ให้ถึงฝั่ง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถา ประพันธ์นี้ว่า บุคคลเมื่อเจริญมรรคอันอุดม พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง. มรรคนั้น (ย่อมเป็นไป) เพื่อให้ถึงฝั่ง. เพราะเหตุนั้น มรรคท่านจึงกล่าวว่า เป็นที่ให้ถึงฝั่ง.
[๕๗๐] (ท่านพระปิงคิยะทูลถามว่า) ข้าพระองค์จักขับตามเพลงขับ. พระผู้มีพระภาคผู้ปราศจาก มลทิน มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน มิได้มีกาม มิได้ มีป่า เป็นนาค (ได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด ตรัสบอกแล้ว อย่างนั้น). บุคคลพึงพูดเท็จเพราะเหตุอะไร?
[๕๗๑] คำว่า จักขับตามเพลงขับ ความว่า จักขับเพลงขับ คือ จักขับตามธรรมที่ พระองค์ตรัสแล้ว จักขับตามธรรมที่ตรัสบอกแล้ว จักขับตามธรรมที่ตรัสประกาศแล้ว เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า จักขับตามเพลงขับ. คำว่า อิติ ในบทว่า อิจฺจายสฺมา ปิงฺคิโย ดังนี้ เป็นบทสนธิ. ฯลฯ บทว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง. คำ ปิงคิโย เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ เป็นสมญา เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร เป็นนาม เป็นการตั้งชื่อ เป็นการทรงชื่อ เป็นภาษาเรียก เป็นเครื่องให้ปรากฏ เป็นคำร้องเรียก ของ พระเถระนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพระปิงคิยะทูลถามว่า.
[๕๗๒] คำว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด ตรัสแล้วอย่างนั้น ความว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด ได้ตรัสแล้ว คือ ตรัสบอก ... ทรงประกาศแล้วอย่างนั้น ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมี