พระสุตตันตปิฎกไทย: 30/220/575

สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
เล่ม 30
หน้า 220
ขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็น ธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ไม่มีป่า ไร้ป่า ไปปราศแล้ว จากป่า ละป่าแล้ว พ้นแล้วจากป่า ล่วงป่าทั้งปวงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีป่า. คำว่า เป็นนาค ความว่า พระผู้มีพระภาคชื่อว่า เป็นนาค เพราะไม่ทรงทำความชั่ว. ชื่อว่า เป็นนาค เพราะไม่เสด็จไปสู่ความชั่ว. ชื่อว่า เป็นนาค เพราะไม่เสด็จมาสู่ความชั่ว ฯลฯ พระผู้มี พระภาคชื่อว่า เป็นนาค เพราะไม่เสด็จมาสู่ความชั่วอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีกาม ไม่มีป่า เป็นนาค.
[๕๗๕] คำว่า เพราะเหตุอะไร ในอุเทศว่า กิสฺส เหตุ มุสา ภเณ ดังนี้ ความว่า เพราะเหตุอะไร เพราะการณะอะไร เพราะปัจจัยอะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุอะไร? คำว่า พึงกล่าวคำเท็จ ความว่า พึงกล่าวถ้อยคำเท็จ คือ กล่าวมุสาวาท กล่าวถ้อยคำ อันไม่ประเสริฐ. บุคคลบางคนในโลกนี้ อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในบริษัทก็ดี อยู่ท่ามกลางญาติ ก็ดี อยู่ในราชสกุลก็ดี เขานำไปเป็นพยานถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้เหตุใด จงกล่าว เหตุนั้น. บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็น ก็กล่าวว่าไม่เห็น ย่อมกล่าวคำเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง เพราะเหตุเห็น แก่สิ่งของเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้. นี้ท่านกล่าวว่า กล่าวคำเท็จ. อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ก่อนที่จะพูดบุคคลนั้นก็รู้ว่า จัก พูดเท็จ เมื่อกำลังพูด ก็รู้ว่าพูดเท็จอยู่ เมื่อพูดแล้วก็รู้ว่า พูดเท็จแล้ว มุสาวาทย่อมมีด้วย อาการ ๓ อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ก่อนที่จะพูด บุคคลนั้นก็รู้ว่า จักพูดเท็จ ฯลฯ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๕ อย่าง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๖ อย่าง มุสาวาทย่อม มีด้วยอาการ ๗ อย่าง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๘ อย่าง คือ ก่อนที่จะพูด บุคคลนั้นก็รู้ว่า จัก พูดเท็จ เมื่อกำลังพูดก็รู้ว่า พูดเท็จอยู่ เมื่อพูดแล้วก็รู้ว่า พูดเท็จแล้ว ตั้งความเห็นไว้ ตั้งความ ควรไว้ ตั้งความชอบใจไว้ ตั้งสัญญาไว้ ตั้งความเป็นไว้ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๘ อย่างนี้. บุคคลพึงกล่าว พึงพูด พึงแสดง พึงบัญญัติคำเท็จ เพราะเหตุอะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึง พูดเท็จ เพราะเหตุอะไร? เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระ จึงกล่าวว่า