พระสุตตันตปิฎกไทย: 30/221/576 577 578

สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
เล่ม 30
หน้า 221
ข้าพระองค์จักขับตามเพลงขับ, พระผู้มีพระภาคผู้ปราศจากมลทิน มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน มิได้มีกาม มิได้มีป่า เป็นนาค (ได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด ตรัสบอกแล้วอย่างนั้น). บุคคลพึง พูดเท็จ เพราะเหตุอะไร?
[๕๗๖] มิฉะนั้น ข้าพระองค์จักระบุถ้อยคำอันประกอบด้วยคุณแก่พระองค์ ผู้ทรงละมลทินและความหลงแล้ว ผู้ทรงละความถือตัวและความ ลบหลู่.
[๕๗๗] คำว่า มลทิน ในอุเทศว่า ปหีนมลโมหสฺส ดังนี้ ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริตทั้งปวงเป็นมลทิน. คำว่า ความหลง ความว่า ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ อวิชชาเป็นดังลิ่ม สลัก โมหะ อกุศลมูล นี้ท่านกล่าวว่า โมหะ มลทิน และความหลง. พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้วทรงละได้ แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้วจึงชื่อว่า ทรงละมลทินและความ หลงเสียแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ทรงละมลทินและความหลงเสียแล้ว.
[๕๗๘] ความถือตัว ในคำว่า มานะ ในอุเทศว่า มานมกฺขปฺปหายีโน ดังนี้ โดยอาการ อย่างหนึ่ง คือ ความพองแห่งจิต. ความถือตัวโดยอาการ ๒ อย่าง คือ ความถือตัวในการยกตน ๑ ความถือตัวในการข่มผู้อื่น ๑. ความถือตัวโดยอาการ ๓ อย่าง คือ ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา ๑ เราเสมอเขา ๑ เราเลวกว่าเขา ๑. ความถือตัวโดยอาการ ๔ อย่าง คือ บุคคลให้ความถือตัวเกิด เพราะลาภ ๑ เพราะยศ ๑ เพราะสรรเสริญ ๑ เพราะสุข ๑. ความถือตัวโดยอาการ ๕ อย่าง คือ บุคคลให้ความถือตัวเกิดว่า เราเป็นผู้ได้รูปที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้เสียงที่ชอบใจ ๑ เอาเป็นผู้ได้ กลิ่นที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้รสที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑. ความถือตัวโดย อาการ ๖ อย่าง คือ บุคคลให้ความถือตัวเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจักษุ ๑ เพราะความถึง พร้อมแห่งหู ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งจมูก ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งลิ้น ๑ เพราะความถึง พร้อมแห่งกาย ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งใจ ๑. ความถือตัวโดยอาการ ๗ อย่าง คือ ความถือ ตัว ๑ ความถือตัวจัด ๑ ความถือตัวเกินกว่าความถือตัว ๑ ความดูหมิ่น ๑ ความ ดูแคลน ๑ ความถือตัวว่าเรามี ๑ ความถือตัวผิด ๑. ความถือตัวโดยอาการ ๘ อย่าง คือ บุคคล