พระสุตตันตปิฎกไทย: 30/222/579

สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
เล่ม 30
หน้า 222
ให้ความถือตัวเกิดเพราะลาภ ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑ ให้ความถือตัวเกิด เพราะยศ ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะความนินทา ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะ ทุกข์ ๑. ความถือตัวโดยอาการ ๙ อย่าง คือ ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขาที่ดี ๑ เราเสมอเขาที่ดี ๑ เราเลวกว่าเขาที่ดี ๑ เราดีกว่าเขาที่เสมอกัน ๑ เราเสมอเขาที่เสมอกัน ๑ เราเลวกว่าเขาที่เสมอ กัน ๑ เราดีกว่าเขาที่เลว ๑ เราเสมอเขาที่เลว ๑ เราเลวกว่าเขาที่เลว ๑. ความถือตัวโดย อาการ ๑๐ อย่าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ความถือตัวเกิดขึ้นเพราะกำเนิดบ้าง เพราะโคตร บ้างเพราะความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง เพราะความเป็นผู้มีผิวพรรณงามบ้าง เพราะทรัพย์บ้าง เพราะความเชื้อเชิญบ้าง เพราะบ่อเกิดแห่งการงานบ้าง เพราะบ่อเกิดแห่งศิลปะบ้าง เพราะฐาน แห่งวิชชาบ้าง เพราะการศึกษาเล่าเรียนบ้าง เพราะปฏิภาณบ้าง เพราะวัตถุอื่นบ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัวความเป็นผู้ถือตัว ความพองจิต ความมีมานะดังว่าไม้อ้อสูง มานะดังธงไชย มานะ อันเป็นเหตุให้ยกย่อง ความที่มีจิตใคร่ดังธงนำหน้า นี้ท่านกล่าวว่า ความถือตัว. ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ความเป็นผู้ลบหลู่ กรรมอันประกอบด้วยความแข็งกระด้าง นี้ท่านกล่าวว่าความลบหลู่ในคำว่า มักขะ ดังนี้. ความถือตัวและความลบหลู่ พระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสรู้แล้วทรงละได้แล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิด ขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้วจึงชื่อว่า ทรงละความถือตัว และความลบหลู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงละความถือตัวและความลบหลู่.
[๕๗๙] คำว่า หนฺทาหํ ในอุเทศว่า หนฺทาหํ กิตฺตยิสฺสามิ คิรํ วณฺณูปสญฺหีตํ ดังนี้ เป็นบทสนธิ. ฯลฯ คำว่า หนฺท นี้เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า กิตฺตยิสฺสามิ ความว่า จักระบุ คือ จักแสดง ... จักประกาศซึ่งถ้อยคำ วาจา คำเป็นคลอง คำที่ควรเปล่ง อันเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยคุณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผิฉะนั้น ข้าพระองค์จักระบุถ้อยคำอันประกอบด้วยคุณ. เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า ผิฉะนั้น ข้าพระองค์จักระบุถ้อยคำอันประกอบด้วยคุณ แก่ พระองค์ผู้ทรงละมลทินและความหลงแล้ว ผู้ทรงละความถือตัว และความลบหลู่.