พระสุตตันตปิฎกไทย: 20/249/550 551
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
กูฏสูตรที่ ๒
[๕๕๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเขาว่า
ดูกรคฤหบดี เมื่อจิตถึงความพินาศแล้ว แม้กายกรรมก็ถึงความพินาศ แม้วจีกรรมก็ถึงความ
พินาศ แม้มโนกรรมก็ถึงความพินาศ เมื่อเขามีกายกรรมถึงความพินาศ มีวจีกรรมถึงความพินาศ
มีมโนกรรมถึงความพินาศ ความตายก็ไม่ดี การทำกาละก็ไม่งาม ดูกรคฤหบดีเปรียบเหมือน
เมื่อเรือนที่มุงไว้ไม่ดี แม้ยอดเรือนก็ถึงความพินาศ แม้ไม้กลอนก็ถึงความพินาศ แม้ฝาเรือนก็
ถึงความพินาศ ฉันใด ดูกรคฤหบดี เมื่อจิตถึงความพินาศ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ความตาย
ก็ไม่ดี การทำกาละก็ไม่งาม ดูกรคฤหบดี เมื่อจิตไม่ถึงความพินาศ แม้กายกรรมก็ไม่ถึงความพินาศ
แม้วจีกรรมก็ไม่ถึงความพินาศ แม้มโนกรรมก็ไม่ถึงความพินาศ เมื่อเขามีกายกรรมไม่ถึงความ
พินาศ มีวจีกรรมไม่ถึงความพินาศ มีมโนกรรมไม่ถึงความพินาศความตายก็ดี การทำกาละก็งาม
ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนเมื่อเรือนที่มุงไว้ดีแม้ยอดเรือนก็ไม่ถึงความพินาศ แม้กลอนก็ไม่
ถึงความพินาศ แม้ฝาเรือนก็ไม่ถึงความพินาศ ฉันใด ดูกรคฤหบดี เมื่อจิตไม่ถึงความพินาศ ก็
ฉันนั้นเหมือนกันฯลฯ ความตายก็ดี การทำกาละก็งาม ฯ
นิทานสูตรที่ ๑
[๕๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้เป็นเหตุให้เกิด กรรม ๓ อย่างเป็นไฉน
คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายกรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความโลภ เกิด
แต่ความโลภ มีความโลภ เป็นเหตุมีความโลภเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมี
โทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อ
ความดับกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความโกรธ เกิดแต่ความโกรธ มี
ความโกรธเป็นเหตุ มีความโกรธเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศลกรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้น