พระสุตตันตปิฎกไทย: 19/260/1079 1080 1081
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
รุกขสูตรที่ ๔
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม
[๑๐๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลี
(ไม้งิ้วป่า) โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๐๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็น
โพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไป
เพื่อความตรัสรู้.
[๑๐๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลี
โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์
บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น
เหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ โพธิปักขิยวรรคที่ ๗
----------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัญโญชนาสูตร ๒. อนุสยสูตร
๓. ปริญญาสูตร ๔. อาสวักขยสูตร
๕. ผลสูตรที่ ๑ ๖. ผลสูตรที่ ๒
๗. รุกขสูตรที่ ๑ ๘. รุกขสูตรที่ ๒
๙. รุกขสูตรที่ ๓ ๑๐. รุกขสูตรที่ ๔.
-----------