พระสุตตันตปิฎกไทย: 25/260/296
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
กรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว ดุจพระราชาทรง
ละแว่นแคว้นอันพระองค์ทรงชนะแล้วเสด็จไปแต่ผู้เดียว ดุจช้างชื่อ
มาตังคะละโขลงเที่ยวอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ฉะนั้น เราย่อมสรรเสริญ
สหายผู้ถึงพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น พึงคบสหายผู้ประเสริฐสุด ผู้เสมอ
กัน กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประเสริฐสุดและผู้เสมอกันเหล่านี้แล้ว พึง
เป็นผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
บุคคลแลดูกำไลทองทั้งสองอันงามผุดผ่อง ที่บุตรแห่งนายช่างทองให้
สำเร็จด้วยดีแล้ว กระทบกันอยู่ในข้อมือ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
นอแรด ฉะนั้น การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่สอง หรือการข้อง
อยู่ด้วยอำนาจแห่งความเยื่อใยพึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ใน
อนาคต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ก็กามทั้งหลายงาม
วิจิตรมีรสอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆบุคคล
เห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น บุคคลเห็นภัย คือ จัญไร ผีอุปัทวะ โรค ลูกศร และ
ความน่ากลัวนี้ ในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
นอแรด ฉะนั้นบุคคลพึงครอบงำอันตรายเหล่านี้แม้ทั้งปวง คือ หนาว
ร้อนหิว ระหาย ลม แดด เหลือบและสัตว์เสือกคลานแล้วพึง
เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว
เช่นกับนอแรด เปรียบเหมือนช้างใหญ่ผู้เกิดในตระกูลปทุม มีศีลขันธ์
เกิดขึ้นแล้ว ละโขลงอยู่ในป่าตามอภิรมย์ ฉะนั้น (พระปัจเจกพุทธเจ้า
ได้กล่าวกึ่งคาถาว่า)บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้าผู้เป็น
เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
จะพึงบรรลุวิมุตติอันมีในสมัยนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้(พระกุมารได้
กล่าวกึ่งคาถาที่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอาทิจจพันธุกล่าวแล้วให้บริบูรณ์
ว่า) พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น เราล่วงพ้นทิฐิอันเป็น
ข้าศึกได้แล้ว ถึงความเป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้น
แล้ว อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำพึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น