พระสุตตันตปิฎกไทย: 25/263/297 298
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
กสิภารทวาชสูตรที่ ๔
[๒๙๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อเอกนาฬาในทักขิณาคิรีชนบท
แคว้นมคธ ก็สมัยนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์ประกอบไถประมาณ ๕๐๐ ในเวลาเป็นที่หว่าน
พืช ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป
ยังที่การงานของกสิภารทวาชพราหมณ์ ก็สมัยนั้นแล การเลี้ยงดูของกสิภารทวาชพราหมณ์กำลัง
เป็นไปลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปถึงที่เลี้ยงดู ครั้นแล้วได้ประทับยืนอยู่ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง กสิภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนอยู่เพื่อบิณฑบาต
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระองค์แล ย่อมไถและหว่าน ครั้น
ไถและหว่านแล้วย่อมบริโภค แม้พระองค์ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วจงบริโภคเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วย่อมบริโภค ฯ
กสิ. ข้าแต่พระสมณะ ก็ข้าพระองค์ย่อมไม่เห็นแอก ไถ ผาล ปฏักหรือโค ของ
ท่านพระโคดมเลย ก็แลเมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ดูกรพราหมณ์ แม้เราก็
ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วย่อมบริโภค ฯ
ลำดับนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๒๙๘] พระองค์ย่อมปฏิญาณว่าเป็นชาวนา แต่ข้าพระองค์ไม่เห็นไถของพระองค์
พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกไถแก่ข้าพระองค์
โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะพึงรู้จักไถของพระองค์ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียรของเราเป็นฝน ปัญญาของเราเป็น
แอกและไถ หิริของเราเป็นงอนไถ ใจของเราเป็นเชือก สติของเรา
เป็นผาลและปฏัก เราคุ้มครองกายคุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารใน
ท้อง ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความ
สงบเสงี่ยมของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระ
ไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมาย่อมถึงสถาน