พระสุตตันตปิฎกไทย: 13/282/389 390 391

สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
เล่ม 13
หน้า 282
๑๐. เวขณสสูตร เรื่องเวขณสปริพาชก
[๓๘๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้: สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิก เศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวขณสปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง. เปรียบเทียบวรรณ ๒ อย่าง
[๓๙๐] เวขณสปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้เปล่งอุทานในสำนักพระผู้ มีพระภาคว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรกัจจานะ ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้เป็นวรรณ อย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ ก็วรรณอย่างยิ่งนั้นเป็นไฉน. เว. ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณนั้น เป็นวรรณอย่างยิ่ง. ภ. ดูกรกัจจานะ วรรณไหนเล่า ที่ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใด ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณ อย่างยิ่ง.
[๓๙๑] ดูกรกัจจานะ ท่านกล่าวแต่เพียงว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณ อื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ วาจานั้นของท่านพึงขยายออก อย่างยืดยาว แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นได้. ดูกรกัจจานะ เปรียบเหมือนบุรุษพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรา ปรารถนารักใคร่นางชนปทกัลยาณี ในชนบทนี้. คนทั้งหลายพึงถามเขาอย่างนี้ว่า พ่อ นาง