พระสุตตันตปิฎกไทย: 13/283/392 393

สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
เล่ม 13
หน้า 283
ชนปทกัลยาณีที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้นพ่อรู้จักหรือว่า เป็นนางกษัตริย์ พรามหณี แพศย์ หรือศูทร. เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้. คนทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อ นางชนปทกัลยาณี ที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้น พ่อรู้จักหรือว่า นางมีวรรณอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. เมื่อเขาถูกถาม ดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้. คนทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อนางชนปทกัลยาณีที่พ่อปรารถนา รักใคร่นั้น พ่อรู้จักหรือว่า สูง ต่ำ หรือพอสันทัด ดำ ขาว หรือมีผิวคล้ำ อยู่ในบ้าน นิคม หรือนครโน้น. เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้. คนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาว่า พ่อ ปรารถนารักใคร่หญิงที่พ่อไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นนั้นหรือ. เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึง ตอบว่าถูกแล้ว ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ คำกล่าวของ บุรุษนั้น ถึงความเป็นคำใช้ไม่ได้ มิใช่หรือ? แน่นอน พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของบุรุษนั้น ถึงความเป็นคำใช้ ไม่ได้. ดูกรกัจจานะ ข้อนี้ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นแล กล่าวอยู่แต่ว่า ข้าแต่พระโคดม วรรณใด ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ไม่ชี้วรรณนั้น. ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลแดงย่อมสว่างไสวส่องแสงเรืองอยู่ฉันใด ตัวตน ก็ฉันนั้น เมื่อตายไป ย่อมเป็นของมีวรรณ ไม่มีโรค.
[๓๙๒] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แก้วไพฑูรย์อันงามเกิดเอง อย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลแดง ย่อมสว่างไสว ส่องแสงเรืองอยู่ ๑ แมลงหิงห้อยในเวลาเดือนมืด ในราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณ ไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน? ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ แมลงหิงห้อยในเวลาเดือนมืด ในราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.
[๓๙๓] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แมลงหิงห้อยในเดือนมืด ในราตรี ๑ ประทีปน้ำมันในเวลาเดือนมืด ในราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่า และประณีตกว่ากัน?