พระสุตตันตปิฎกไทย: 22/286/295
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
ข้อง นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า เปือกตม นี้เป็นชื่อของกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุไร คำว่า
ภัย นี้ จึงเป็นชื่อของกามเพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยความกำหนัดในกาม ถูกความกำหนัดเพราะ
ความชอบพอเกี่ยวพันไว้ จึงไม่พ้นจากภัยแม้ที่มีในปัจจุบัน ไม่พ้นจากภัยแม้ในสัมปรายภพ
ฉะนั้น คำว่าภัยนี้ จึงเป็นชื่อของกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุไร คำว่าทุกข์ ... โรค ... ฝี ...
เครื่องขัดข้อง ... เปือกตมนี้ จึงเป็นชื่อของกาม เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยความกำหนัดในกามนี้
ถูกความกำหนัดเพราะความชอบพอเกี่ยวพันไว้ จึงไม่พ้นจากเปือกตมแม้ในปัจจุบัน ไม่พ้นจาก
เปือกตมแม้ในสัมปรายภพ ฉะนั้น คำว่า เปือกตม นี้ จึงเป็นชื่อของกาม ฯ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เราเรียก ภัย ทุกข์ โรค และสิ่งทั้ง ๒ คือ เครื่องขัดข้อง เปือกตม
ว่าเป็นกาม เป็นที่ข้องของปุถุชน เพราะเห็นภัยในการยึดถือ ซึ่งเป็น
แดนเกิดของชาติและมรณะ ชนทั้งหลายจึงหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ดำเนิน
ไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นชาติและมรณะ ชนเหล่านั้น ถึงแดนเกษม
มีสุข ดับสนิทในปัจจุบัน ผ่านพ้นเวรและภัย ล่วงทุกข์ทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. หิมวันตสูตร
[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ พึงทำลายขุนเขา
หิมวันต์ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามก ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้
ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์
แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖
ประการนี้แล พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยการกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามกเล่า ฯ
จบสูตรที่ ๔