พระสุตตันตปิฎกไทย: 25/296/326
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
และฤษยา ไม่ยังธรรมให้แจ่มแจ้งในศาสนานี้เทียว ยังข้ามความสงสัย
ไม่ได้ ย่อมเข้าถึงความตาย บุคคลไม่ยังธรรมให้แจ่มแจ้งแล้ว ไม่
ใคร่ครวญเนื้อความในสำนัก แห่งบุคคลผู้เป็นพหูสูตทั้งหลายไม่รู้ด้วย
ตนเอง ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ จะสามารถให้ผู้อื่นเพ่งพินิจได้อย่างไร
เหมือนคนข้ามแม่น้ำที่มีน้ำมากมีกระแสไหลเชี่ยว ถูกน้ำพัดลอยไป
ตามกระแสน้ำ จะสามารถช่วยให้ผู้อื่นข้ามได้อย่างไร ฉะนั้น ผู้ใดขึ้นสู่
เรือที่มั่นคง มีพายุและถ่อพร้อมมูล ผู้นั้นรู้อุบายในเรือนั้นเป็นผู้ฉลาด
มีสติ พึงช่วยผู้อื่นแม้จำนวนมากในเรือนั้นให้ข้ามได้ แม้ฉันใด
ผู้ใดไปด้วยมรรคญาณทั้ง ๔ อบรมตนแล้ว เป็นพหูสูต ไม่มีความ
หวั่นไหวเป็นธรรมดา ผู้นั้นแลรู้ชัดอยู่ พึงยังผู้อื่นผู้ตั้งใจสดับและ
สมบูรณ์ด้วยธรรมอันเป็นอุปนิสัยให้เพ่งพินิจได้ ฉันนั้น เพราะเหตุ
นั้นแลบุคคลควรคบสัปบุรุษผู้มีปัญญา เป็นพหูสูต บุคคลผู้คบบุคคล
เช่นนั้น รู้ชัดเนื้อความแล้ว ปฏิบัติอยู่ รู้แจ้งธรรมแล้ว พึงได้ความสุข ฯ
จบนาวาสูตรที่ ๘
กึสีลสูตรที่ ๙
ท่านพระสารีบุตรทูลถามด้วยคาถาว่า
[๓๒๖] นรชนพึงมีปรกติอย่างไร มีความประพฤติอย่างไร พึงพอกพูนกรรม
เป็นไฉน จึงจะเป็นผู้ดำรงอยู่โดยชอบ และพึงบรรลุถึงประโยชน์
อันสูงสุดได้ พระเจ้าข้า ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
นรชนพึงเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญ ไม่ริษยาและเมื่อ
ไปหาครูก็พึงรู้จักกาล พึงรู้จักขณะ ฟังธรรมีกถาที่ครูกล่าวแล้ว พึงฟัง
สุภาษิตโดยเคารพ พึงไปหาครูผู้นั่งอยู่ในเสนาสนะของตนตามกาล