พระสุตตันตปิฎกไทย: 13/339/491 492
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมใด รามะก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
บรรลุถึงธรรมนั้นแล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้ รามะรู้ยิ่งธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด
รามะก็รู้ยิ่งธรรมนั้น ดังนี้ รามะเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด รามะก็เช่นนั้น ดังนี้
ดูกรอาวุโส บัดนี้เชิญท่านมาบริหารหมู่คณะนี้เถิด. ดูกรราชกุมาร อุทกดาบสรามบุตรเป็นเพื่อน
สพรหมจารีของอาตมภาพ ตั้งอาตมภาพไว้ในตำแหน่งอาจารย์ และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชา
อย่างยิ่ง. อาตมภาพ มีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
สนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงให้อุปบัติใน
เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมเท่านั้น. อาตมภาพไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป.
[๔๙๑] ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพแสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นคว้าสันติวรบท
อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า เที่ยวจาริกไปในมคธชนบทโดยลำดับ บรรลุถึงอุรุเวลาเสนานิคม.
ณ ที่นั้น อาตมภาพได้เห็นภาคพื้นน่ารื่นรมย์ มีไพรสณฑ์น่าเลื่อมใส มีแม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็นจืด
สนิท มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ และมีโคจรคามโดยรอบ. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า
ภาคพื้นน่ารื่นรมย์หนอ ไพรสณฑ์ ก็น่าเลื่อมใส แม่น้ำก็ไหล น้ำเย็นจืดสนิท ท่าน้ำก็ราบเรียบ
น่ารื่นรมย์ และโคจรคามก็โดยรอบ สถานที่เช่นนี้สมควรเป็นที่ตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการ
ความเพียรหนอ ดูกรราชกุมาร อาตมภาพนั่งอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง ด้วยคิดเห็นว่า สถานที่เช่นนี้
สมควรเป็นที่ทำความเพียร.
อุปมา ๓ ข้อ
[๔๙๒] ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้น อุปมาสามข้ออันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่ได้เคยฟังมาในกาลก่อน
มาปรากฏแก่อาตมภาพ.
๑. เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ. ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักถือเอา
ไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ ดังนี้. ดูกรราชกุมาร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความ
ข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด พึงทำไฟให้
ปรากฏได้บ้างหรือ?
โพธิราชกุมารทูลว่า ข้อนี้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้ยังสด
ชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ บรรลุนั้นก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลำบากกายเปล่า.