พระสุตตันตปิฎกไทย: 21/55/52
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
เพื่อสุข อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ดังนี้ ไม่ใช่กระทำได้ง่าย โดยที่แท้ ย่อมถึงซึ่งการ
นับว่า เป็นกองบุญใหญ่ จะนับจะประมาณมิได้ทีเดียว ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
แม่น้ำทั้งหลาย อันคับคั่งด้วยหมู่ปลาเป็นจำนวนมาก ไหล
ไปยังสาครคือทะเลใหญ่ ที่ขังน้ำใหญ่ ไม่มีประมาณ
ประกอบด้วยสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นที่อยู่อาศัยแห่งรัตนะ
เป็นอันมาก ย่อมยังสาครให้เต็ม ฉันใด ท่อธารแห่งบุญ
ย่อมยังนรชนผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าวและน้ำ ให้เครื่องปู
ลาดที่นอนและที่นั่ง ให้เต็มด้วยบุญ ฉันนั้น เหมือน
อย่างแม่น้ำ คือห้วงน้ำยังสาครให้เต็มฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๑
ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๒
[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๔ ประการนี้ นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์
อันเลิศ มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ห้วงบุญห้วงกุศล ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้
เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงสมบูรณ์ด้วย
วิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกชั้นเยี่ยม เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้มีโชคห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๑ นี้
นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
อันผู้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน
พึงรู้ได้เฉพาะตน ห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๒ นี้นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็น
วิบาก เป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจอีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน