พระสุตตันตปิฎกไทย: 4/64/80 81

วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑
เล่ม 4
หน้า 64
ทรงอนุญาตอุปัชฌายะ
[๘๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว จึงตรัส โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่ สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุง ง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความกำจัด ความขัดเกลา อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุปัชฌายะ อุปัชฌายะจัก ตั้งจิตสนิทสนมในสัทธิวิหาริกฉันบุตร สัทธิวิหาริกจักตั้งจิตสนิทสนมในอุปัชฌายะฉันบิดา เมื่อ เป็นเช่นนี้ อุปัชฌายะและสัทธิวิหาริกนั้น ต่างจักมีความเคารพ ยำเกรง ประพฤติกลมเกลียวกัน อยู่ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสัทธิวิหาริกพึงถืออุปัชฌายะอย่างนี้. วิธีถืออุปัชฌายะ สิทธิวิหาริกนั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวคำอย่างนี้ ๓ หน ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า, ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะ ของข้าพเจ้า, ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า. อุปัชฌายะรับว่า ดีละ เบาใจละ ชอบแก่อุบายละ สมควรละ หรือรับว่า จงยังความ ปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด ดังนี้ก็ได้ รับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยกายด้วยวาจาก็ได้ เป็นอันสัทธิวิหาริกถืออุปัชฌายะ แล้ว ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา ไม่เป็นอันสิทธิวิหาริกถือ อุปัชฌายะ. อุปัชฌายวัตร
[๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบในอุปัชฌายะ. วิธีประพฤติชอบในอุปัชฌายะนั้น มีดังต่อไปนี้:-