พระสุตตันตปิฎกไทย: 20/93/438
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
ทรงบัญญัติปวารณา ... ทรงบัญญัติการตั้งปวารณา ...ทรงบัญญัติตัชชนียกรรม ... ทรงบัญญัติ
นิยัสสกรรม ... ทรงบัญญัติปัพพาชยกรรม... ทรงบัญญัติปฏิสารณียกรรม ... ทรงบัญญัติอุกเข
ปนียกรรม ... ทรงบัญญัติการให้ปริวาส ... ทรงบัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ทรงบัญญัติการ
ให้มานัต ...ทรงบัญญัติอัพภาน ... ทรงบัญญัติการเรียกเข้าหมู่ ... ทรงบัญญัติการขับออกจากหมู่...
ทรงบัญญัติการอุปสมบท ... ทรงบัญญัติญัตติกรรม ... ทรงบัญญัติญัตติทุติยกรรม... ทรงบัญญัติ
ญัตติจตุตถกรรม ... ทรงบัญญัติสิกขาบทที่ยังไม่ได้ทรงบัญญัติ ...ทรงบัญญัติเพิ่มเติมในสิกขาบทที่ทรง
บัญญัติไว้แล้ว ... ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ... ทรงบัญญัติสติวินัย ... ทรงบัญญัติอมุฬหวินัย ...
ทรงบัญญัติปฏิญญาตกรณะ ...ทรงบัญญัติเยภุยยสิกา ... ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา ... ทรงบัญญัติ
ติณวัตถารกวินัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ เพื่อความดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความ
สำราญแห่งสงฆ์ ๑ ... เพื่อความข่มขู่บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ ...
เพื่อป้องกันอาสวะอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อ
ป้องกันเวรอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดเวรอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันโทษ
อันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดโทษอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันภัยอันจักบังเกิด
ในปัจจุบัน ๑เพื่อกำจัดภัยอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจักบังเกิดใน
ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่ออนุเคราะห์แก่คฤหัสถ์ ๑
เพื่อเข้าไปตัดรอนฝักฝ่ายของภิกษุที่มีความปรารถนาลามก ๑ ... เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่
เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ๑... เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่างนี้แล พระ
ตถาคตจึงทรงบัญญัติติณวัตถารกวินัยไว้แก่สาวก ฯ
[๔๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งราคะ จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่าง
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ซึ่งราคะ จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อกำหนดรู้ราคะ ... เพื่อความ
สิ้นไปรอบแห่งราคะ ...เพื่อละราคะเด็ดขาด ... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไป
แห่งราคะ... เพื่อความสำรอกราคะ ... เพื่อความดับสนิทแห่งราคะ ... เพื่อสละราคะ ...เพื่อ
ปล่อยราคะเสีย จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ