นิทเทศ ๘
ว่าด้วยกิเลสทั้งหลายในฐานะสมุทัย
จบ
ภาค ๒
ว่าด้วยทุกขสมุทยอริยสัจ
ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์
จบ
คำชี้ชวนวิงวอน
____________
ภิกษุ ท.! โยคกรรม อันเธอพึงกระทำ เพื่อให้รู้ว่า
“นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์
นี้ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์.”
เทสิตํ. โว มยา นิพฺพานํ เทสิโต นิพฺพานคามิมคฺโค
นิพพาน เราได้แสดงแล้ว,
ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.
กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,
กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.
นั่น โคนไม้ ; นั่น เรือนว่าง.
พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,
อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.
อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี
นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.
(มหาวาร. สํ. - สฬา.สํ.)
ภาค ๓
ว่าด้วย
นิโรธอริยสัจ
ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์
ภาค ๓
มีเรื่อง :-นิทเทศ ๙ ว่าด้วยเรื่องความดับแห่งตัณหา ๒๙ เรื่อง
นิทเทศ ๑๐ ว่าด้วยธรรมเป็นที่ดับตัณหา ๖๑ เรื่อง
นิทเทศ ๑๑ ว่าด้วยผู้ดับตัณหา ๑๐๖ เรื่อง
นิทเทศ ๑๒ ว่าด้วยอาการดับแห่งตัณหา ๖๑ เรื่อง
อริยสัจจากพระโอษฐ์
ภาค ๓
ว่าด้วย
นิโรธอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ
คือความดับไม่เหลือของทุกข์
(มี ๔ นิทเทศ)
อุทเทศแห่งนิโรธอริยสัจ
ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้นนั่นเทียว, ความละไปของตัณหานั้น, ความสลัดกลับคืนของตัณหานั้น, ความหลุดออกไปของตัณหานั้น และความไม่มีที่อาศัยอีกต่อไปของตัณหานั้น อันใด ; อันนี้ เราเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์.