พุทธธัมมเจดีย์อริยสัจจากพระโอษฐ์

พิมพ์คำค้นหาแล้วกดส่ง

อริยสัจจากพระโอษฐ์ > ภาค ๓ > นิทเทศ 10 ว่าด้วย ธรรมเป็นที่ดับแห่งตัณหา > วิมุตติไม่มีความต่างกันตามวรรณะของผู้ปฏิบัติ
«
»

หน้า:

วิมุตติไม่มีความต่างกันตามวรรณะของผู้ปฏิบัติ

ปรับขนาด: 16px

-วิมุตติไม่มีความต่างกันตามวรรณะของผู้ปฏิบัติ

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! วรรณะสี่เหล่านี้ คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมี อยู่, ถ้าชนใน

แต่ละวรรณะเหล่านั้น ประกอบด้วยองค์แห่งผู้ควรประกอบความเพียรห้า๑ เหล่านี้แล้ว, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความผิดแปลกแตกต่างกันแห่งชนเหล่านั้นจะพึงมีอยู่ในกรณีนี้อีกหรือ ?”

มหาราช ! ในกรณีนี้ ตถาคตกล่าวแต่ความแตกต่างกันแห่งความเพียรของชนเหล่านั้น. มหาราช ! เปรียบเหมือนคู่แห่งช้างที่ควรฝึกคู่แห่งม้าที่ควรฝึก หรือคู่แห่ง โคที่ควรฝึก ก็ดี ที่เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว และคู่แห่งช้างที่ควรฝึก คู่แห่งม้าที่ควรฝึก หรือคู่แห่งโคที่ควรฝึก ก็ดี ที่เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนำ ก็มีอยู่. มหาราช ! มหาบพิตรจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : คู่แห่งสัตว์ที่ฝึกดีแล้วนั้น จะพึงถึงซึ่งการณะแห่งสัตว์ที่ฝึกแล้ว พึงบรรลุถึงซึ่งภูมิแห่งสัตว์ที่ฝึกแล้ว มิใช่หรือ ? “ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !” ส่วนคู่แห่งสัตว์เหล่าใดที่ไม่ถูกฝึกไม่ถูกแนะนำสัตว์เหล่านั้นจะพึงถึงซึ่งการณะแห่งสัตว์ที่ฝึกแล้วพึงบรรลุถึงซึ่งภูมิแห่งสัตว์ที่ฝึกแล้ว เช่นเดียวกับคู่แห่งสัตว์ที่ฝึกดีแล้วแนะนำดีแล้วเหล่าโน้น แลหรือ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !” มหาราช ! ผลอันใดที่ผู้มีสัทธา มีอาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ปรารภความเพียร มีปัญญาจะพึงบรรลุได้นั้น, ผู้ที่ไม่มีสัทธา มีอาพาธมาก โอ้อวด มีมายา ขี้เกียจ ไร้ปัญญา จักบรรลุซึ่งผลอย่างเดียวกันนั้นได้หนอ ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่มีได้, ฉันใดก็ฉันนั้น.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างมีเหตุ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างมีผล. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! วรรณะสี่เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร มีอยู่. ถ้าชนในแต่ละวรรณะเหล่านั้น ประกอบด้วยองค์แห่งผู้มีความเพียรห้าเหล่านี้

๑. ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ผู้มีลักษณะควรประกอบความเพียร” ที่หมวดสัมมาวายามะในภาค ๔ ; หรือดูโดยย่อ ที่ตอนท้ายของย่อหน้าถัดไปจากย่อหน้านี้.

แล้ว และเป็นผู้มีความเพียรโดยชอบอยู่ แล้วยังจะมีความผิดแปลกแตกต่างกันแห่งชนเหล่านั้น ในกรณีนี้ อยู่อีกหรือ ?”

มหาราช ! ในกรณีนี้ ตถาคตไม่กล่าวความแตกต่างไร ๆ ในระหว่างชนเหล่านั้นเลย ในเมื่อกล่าวเปรียบเทียบกันถึงวิมุตติกับวิมุตติ. มหาราช ! เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาดุ้นไม้สาละแห้งมาแล้ว ทำไฟให้เกิดขึ้น ทำเตโชธาตุให้ปรากฏ และบุรุษอีกคนหนึ่ง ถือเอาดุ้นไม้มะม่วงแห้งมาแล้ว ทำให้ไฟเกิดขึ้นทำเตโชธาตุให้ปรากฏ และหรือบุรุษอีกคนหนึ่ง ถือเอาดุ้นไม้มะเดื่อมาแล้ว ทำไฟให้เกิดขึ้น ทำเตโชธาตุให้ปรากฏ. มหาราช ! มหาบพิตร จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ความต่างกันใด ๆ ของไฟเหล่านั้นที่เกิดจากไม้ต่าง ๆ กันจะพึงมีแลหรือ เมื่อเปรียบกันซึ่งเปลวด้วยเปลว ซึ่งสีด้วยสี ซึ่งแสงด้วยแสง ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !” มหาราช ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : เดช (แห่งธรรม) อันวิริยะนฤมิตขึ้น อันปธานกระทำให้เกิดขึ้น ใด ๆ มีอยู่, ตถาคตไม่กล่าวความแตกต่างไร ๆ ในเดช (แห่งธรรม) นั้น เมื่อกล่าวเทียบกันถึงวิมุตติ กับวิมุตติ ดังนี้.

เสียงอ่าน
อาจิต โตเกียรติรุ่งเรือง:
1106-วิมุตติ ไม่มีความต่างกันตามวรรณะของผู้ปฏิบัติ.mp3
ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต:
394-วิมุตติไม่มีความต่างกันตามวรรณะของผู้ปฏิบัติ.mp3

อ้างอิง
ไทย: - ม. ม. 13/522-523/578-579.
บาลี: - ม. ม. ๑๓/๕๒๒-๕๒๓/๕๗๘-๕๗๙.

AI ช่วยอ่าน

กรุณาคัดลอกและวางพระสูตรในช่องนี้เพื่อฟังเสียง

×

สารบัญหนังสือ