สมาธิภาวนาแต่ละอย่างๆ อาจทำได้ถึง ๗ ระดับ
สิ่งซึ่งอาจจะเป็นที่ประหลาดใจแก่พวกเรา ในที่นี้ ก็คือข้อที่ว่า อนุสสติภาวนานั้นเป็นสิ่งที่อาจเจริญได้ในทุกอิริยาบถ แม้ในขณะที่ผู้ที่เป็นพ่อแม่นอนกกลูกอยู่) .
สมาธิภาวนาแต่ละอย่างๆ อาจทำได้ถึง ๗ ระดับ
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีกระภาคจงทรงแสดงธรรมนั้นโดยย่อ อันเป็นธรรมที่เมื่อข้าพระองค์ฟังแล้ว จะเป็นผู้ผู้เดียวหลีกออกไปสู่ที่สงัด เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในธรรมเบื้องสูง แล้วแลอยู่เถิด พระเจ้าข้า !”
ก็เรื่องอย่างเดียวกันนี่แหละ โมฆบุรุษบางพวกขอร้องให้เรากล่าวธรรมอย่างที่เธอถาม ครั้นเรากล่าวธรรมนั้นแล้วเขาก็ยังสำคัญแต่ในอันที่จะติดตาม เราเท่านั้น (ไม่สนใจที่จะหลีกออกอยู่ปฏิบัติผู้เดียว).
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตจงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้อพระองค์ ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะเข้าใจ เนื้อควรแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะเป็นทายาท (ผู้รับมรดกธรรม) แห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเถิด พระเจ้าข้า !”.
ภิกษุ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า :
(๑ หมวดตระเตรียม)
“จิตของเรา จักเป็นจิตตั้งอยู่ ดำรงอยู่ด้วยดี ในภายใน; และบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย จักไม่เกิดขึ้นครอบงำจิตตั้งอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.
(๒ หมวดพรหมวิหาร)
ภิกษุ ! ในกาลใดแล จิตของเธอ เป็นจิตตั้งอยู่ ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เกิดขึ้นครอบงำจิตตั้งอยู่; ในกาลนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติ จักกระทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้มีที่ตั้งอาศัย ไม่ให้หยุดชะงัก ให้สั่งสมรอบแล้ว ให้ตั้งมั่น แล้วด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้; .ในกาลนั้น เธอ พึงเจริญซึ่งสมาธินี้ :
๑. ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง;
๒. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง;
๓. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง;
๔. พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง;
๕. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง;
๖. พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง;
๗. พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง .
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ เจริญด้วยดีแล้วอย่างนี้ ; ในกาลนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเจริญ
กรุณาเจโตวิมุตติ จักกระทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้มีที่ตั้งอาศัย ไม่ให้หยุดชะงัก ให้สั่งสมรอบแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้วด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้; ในกาลนั้น เธอพึง เจริญซึ่งสมาธินี้ :
ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง .
(ในกรณีแห่ง มุทิตาเจโตวิมุตติ และ อุเบกขาเจโตวิมุตติ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้มีลำดับ ๗ อย่าง อย่างเดียวกันกับข้างบนนี้) .
(๓ หมวดสติปัฏฐาน)
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ (ในพรหมวิหารทั้งสี่ ดังที่กล่าวมาแล้วนี้) อันเธอเจริญ เจริญแล้วด้วยดีอย่างนี้; ในกาลนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก อยู่” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้; ในกาลนั้น เธอ พึงเจริญซึ่งสมาธินี้ :
ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง.
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ เจริญด้วยดีแล้วอย่างนี้; ในกาลนั้นเธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอย่างเป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ; ในกาลนี้ เธอ พึงเจริญซึ่งสมาธินี้ :
ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคด้วยความยินดี บ้าง;
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง.
(ในกรณีแห่ง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ มีลำดับ ๗ อย่าง อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งกายา - เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน).
(หมวดอานิสงส์)
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ เจริญด้วยดีแล้วอย่างนี้ ; ในกาลนั้น เธอจักไปโดยทิศาภาคใดๆ ก็จักไปเป็นผาสุก ; จักยืนในที่ใด ๆ ก็จักยืนเป็นผาสุก ; จักนั่งในที่ใดๆ ก็จักนั่งเป็นผาสุก ; จักสำเร็จ การนอนในที่ใด ๆ ก็จักสำเร็จการนอนเป็นผาสุก แล.