องค์แห่งมรรค ใช้เป็นหลักจำแนกความเป็นสัตบุรุษ - อสัตตบุรุษ
ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง ซึ่งอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ; จักแสดง ซึ่งสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ. ....
ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มี มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อสัตบุรุษ.
ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิด้วย .... (โดยนัยนี้เรื่อยไปจนถึง) .... ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาสมาธิด้วย ชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาสมาธิด้วย : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่า อสัตบุรุษ.
ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัตบุรุษ.
ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิด้วย ชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาทิฏฐิด้วย .... (โดยนัยนี้เรื่อยไปจนถึง) ... ตนเองเป็นผู้มีสัมมาสมาธิด้วย ชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาสมาธิด้วย : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่า สัตบุรุษ.