พุทธธัมมเจดีย์อริยสัจจากพระโอษฐ์

พิมพ์คำค้นหาแล้วกดส่ง

อริยสัจจากพระโอษฐ์ > ภาค ๓ > นิทเทศ 9 ว่าด้วย ความดับแห่งตัณหา > (ข้อความนี้มีประโยชน์มาก ที่ทำให้เราสามารถละสิ่งที่ควรละได้เต็มตามความหมาย ; คือไม่ใช่ละตัววัตถุนั้น แต่ละความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น จึงจะเป็นการละสิ่งนั้นได้เด็ดขาด และเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยิ่งกว่าการที่จะไปละวัตถุนั้น ๆ โดยตรง).
«
»

หน้า:

(ข้อความนี้มีประโยชน์มาก ที่ทำให้เราสามารถละสิ่งที่ควรละได้เต็มตามความหมาย ; คือไม่ใช่ละตัววัตถุนั้น แต่ละความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น จึงจะเป็นการละสิ่งนั้นได้เด็ดขาด และเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยิ่งกว่าการที่จะไปละวัตถุนั้น ๆ โดยตรง).

ปรับขนาด: 16px

-(ข้อความนี้มีประโยชน์มาก ที่ทำให้เราสามารถละสิ่งที่ควรละได้เต็มตามความหมาย ; คือไม่ใช่ละตัววัตถุนั้น แต่ละความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น จึงจะเป็นการละสิ่งนั้นได้เด็ดขาด และเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยิ่งกว่าการที่จะไปละวัตถุนั้น ๆ โดยตรง).

ความสิ้นตัณหา คือ นิพพาน

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกว่า ‘สัตว์ สัตว์’ดังนี้, อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”

ราธะ ! ความพอใจอันใด ราคะอันใด นันทิอันใด ตัณหาอันใด มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ, เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้น ๆ, เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ‘สัตว์’ ดังนี้.

ราธะ ! เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อย ๆ หรือกุมารีน้อย ๆ เล่นเรือนน้อย ๆ ที่ทำด้วยดินอยู่, ตราบใดเขายังมีราคะ มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหาย มีความเร่าร้อน และมีตัณหา ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ; ตราบนั้นพวกเด็กน้อยนั้น ๆ ย่อมอาลัยเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมีเรือนน้อย ที่ทำด้วยดิน เหล่านั้น ย่อมยึดถือเรือนน้อย ที่ทำด้วยดินเหล่านั้นว่าเป็นของเรา ดังนี้.

ราธะ ! แต่เมื่อใดแล พวกกุมารน้อย ๆ หรือกุมารีน้อย ๆ เหล่านั้น มีราคะไปปราศแล้ว มีฉันทะไปปราศแล้ว มีความรักไปปราศแล้ว มีความกระหายไปปราศแล้ว มีความเร่าร้อนไปปราศแล้ว มีตัณหาไปปราศแล้ว ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น, ในกาลนั้นแหละพวกเขาย่อมทำเรือนน้อย ๆ ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ให้กระจัดกระจายเรี่ยรายเกลื่อนกล่นไป กระทำให้จบการเล่นเสีย ด้วยมือและเท้าทั้งหลาย, อุปมานี้ฉันใด ;

ราธะ ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ แม้พวกเธอทั้งหลายจงเรี่ยรายกระจายออก ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ. จงขจัดเสียให้ถูกวิธี, จงทำให้แหลกลาญ โดยถูกวิธี, จงทำให้จบการเล่นให้ถูกวิธี, จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด.

ราธะ ! เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือนิพพาน ดังนี้ แล.

เสียงอ่าน
อาจิต โตเกียรติรุ่งเรือง:
1022-ความสิ้นตัณหา คือนิพพาน.mp3
ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต:
321-ความสิ้นตัณหา คือ นิพพาน.mp3

อ้างอิง
ไทย: - ขนฺธ. สํ. 17/232/367.
บาลี: - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.

AI ช่วยอ่าน

กรุณาคัดลอกและวางพระสูตรในช่องนี้เพื่อฟังเสียง

×

สารบัญหนังสือ