พุทธธัมมเจดีย์อริยสัจจากพระโอษฐ์

พิมพ์คำค้นหาแล้วกดส่ง

อริยสัจจากพระโอษฐ์ > ภาค ๔ > นิทเทศ 18 ว่าด้วย สัมมาอาชีวะ > หมวด ค. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติของสัมมาอาชีวะหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่
«
»

หน้า:

หมวด ค. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติของสัมมาอาชีวะหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่

ปรับขนาด: 16px

-(คำว่า “โวหาร” ในที่นี้ คงจะเป็นคำแปลกประหลาดสำหรับผู้อ่านที่ไม่เคยทราบว่า คำคำนี้ได้แปลได้หลายอย่าง คือแปลว่า คำพูด ก็ได้ สำนวน วิธีพูด ก็ได้ อรรถคดีในโรงศาล ก็ได้ การซื้อขาย ก็ได้ การลงทุนหากำไร ก็ได้ และความหมายอื่นๆอีก, ในพระบาลีนี้ หมายถึงการเป็นอยู่อย่างฆราวาสที่ทำหน้าที่ของตนจนถึงระดับสุดท้าย ซึ่งถือว่าเป็นผู้เสร็จกิจในหน้าที่ของมนุษย์คนหนึ่ง ๆ. ดังนั้น อาจจะถือได้ว่า การดำรงชีวิตของตนให้ดีจนกระทั่งบรรลุพระนิพพานนั้น ก็เป็น “โวหาร” ได้อย่างหนึ่งเหมือนกัน. แม้จะกล่าวตามธรรมชาติล้วนๆ ชีวิตทุกชีวิต ย่อมเป็นการลงทุนอยู่ในตัวมันเอง เพื่อผลอย่างหนึ่ง คือจุดหมายปลายทางของชีวิต. พุทธบริษัททั่วไป ควรจะสนใจข้อความแห่งพระบาลีสูตรนี้เป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้จัดให้ชีวิตของตน เป็นการลงทุนที่ประเสริฐที่สุด ได้ผลดีที่สุดไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และพบพระพุทธศาสนา.

การดำรงชีพชอบเพื่อบรรลุนิพพานนี้ มีความหมายแห่งสัมมาอาชีโว แม้จะเป็นสัมมาอาชีโวที่สูงเกินไป ก็ยังจัดว่าเป็นสัมมาอาชีโวอยู่นั่นเอง จึงนำข้อความนี้ มารวมไว้ในหมวดนี้แห่งหนังสือนี้).

หมวด ค. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติ ของสัมมาอาชีวะ

หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่

ก. เกี่ยวกับจีวร

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึง นุ่งห่มจีวร เพียงเพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสทั้งหลายอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ ให้ความละอายกำเริบ.


อ้างอิง
ไทย: - ฉกฺก. อํ. 22/434/329
บาลี: - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๓๔/๓๒๙

AI ช่วยอ่าน

กรุณาคัดลอกและวางพระสูตรในช่องนี้เพื่อฟังเสียง

×

สารบัญหนังสือ