ตทังคนิพพุโต - ผู้ดับเย็นด้วยองค์นั้น ๆ
-(นอกจากแสดงไว้โดยชื่อว่า เขมัปปัตต์ นี้แล้ว ยังแสดงไว้โดยชื่อว่า อมตัปปัตต์ อภยัปปัตต์ โดยมีข้อความทำนองเดียวกันด้วย.
นวก. อํ. ๒๓/๒๗๗/๒๕๙,๒๖๑, คำว่า เขม ก็ดี อมต ก็ดี อภย ก็ดี ในกรณีเช่นนี้ ล้วนแต่เล็งถึงนิพพานด้วยกันทั้งนั้น. คำว่า ปัตต์ แปลว่า ผู้ถึงแล้ว).
นวก. อํ. ๒๓/๒๗๗/๒๕๙,๒๖๑, คำว่า เขม ก็ดี อมต ก็ดี อภย ก็ดี ในกรณีเช่นนี้ ล้วนแต่เล็งถึงนิพพานด้วยกันทั้งนั้น. คำว่า ปัตต์ แปลว่า ผู้ถึงแล้ว).
ตทังคนิพพุโต - ผู้ดับเย็นด้วยองค์นั้น ๆ
ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลเห็นซึ่งความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความจางคลาย ความดับ ของ รูป นั้นเทียว แล้วเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ว่า รูปทั้งปวงทั้งในกาลก่อน และในกาลนี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้อยู่, โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายย่อมละไป. เพราะละเสียได้ซึ่งโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายเหล่านั้น เขาย่อมไม่สะดุ้งหวาดเสียว ; เมื่อไม่สะดุ้งหวาดเสียว ย่อมอยู่เป็นสุข ; ผู้อยู่เป็นสุข (ด้วยอาการอย่างนี้) เรากล่าวว่า เป็นภิกษุผู้ ตทังคนิพพุโต (ดับเย็นด้วยองค์นั้น ๆ) ดังนี้.
(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).